สังกะสีกันกร่อน (Zinc Anodes) ใช้ติดกับโลหะเพื่อป้องกันการผุกร่อนของโลหะ โดยเป็นขั้วบวกของประจุไฟฟ้าทำให้ประจุลบของอิเล็คตรอนบนโลหะลดลง ซึ่งเป็นการช่วยลดการถูกกัดกร่อนของโลหะที่มีการติดตั้ง
สังกะสีกันกร่อน ( Zinc Anodes ) Weld on Type
เรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดการถูกกัดกร่อนบนโลหะ ซึ่งโดยปรกติแล้วเราจะสังเกตเห็นว่า โลหะทุกชนิดจะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ โดยมีสาเหตุจากการเกิด อุณหพลศาสตร์ (thermodynamically) หรือคุณสมบัติของสารเกิดการแปรเปลี่ยนไปซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในสะภาพแวดล้อมนั่นเอง โดยจะเกิดเป็นสารประกอบ(compounds) เช่นเกิด อ็อกไซด์, ซัลไฟด์ หรือ คาร์โบเนต ตัวอย่างเช่นเหล็กจะเกิดปฏิกิริยาแปรเป็นสนิมเหล็ก Iron-oxide (rust) ซึ่งปฏิกิริยานี้เกิดมาจากการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอน หรือเรียกว่าปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (Electrochemical reaction)
ตรงบริเวณนี้ของเหล็กจะเริ่มถูกละลายไปกับน้ำ และกลายเป็นประจุลบ (จะมีประจุอิเล็กตรอนเหลืออยู่) เรียกว่าบริเวณ ขั้วบวก“Anodic Areas” ส่วนบริเวณอื่นที่ประจุลบไหลเวียนผ่านนั้นเรียกว่า บริเวณขั้วลบ “Cathodic areas” บริเวณที่โลหะสูญเสียอิเล็กตรอนไปกับน้ำและอ็อกซิเจน ปฏิกิริยานี้เรียกว่า การกัดกร่อน (Corrosion).
Note: photo from google.com
บริเวณขั้วบวกและบริเวณขั้วลบที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลหะที่มีเนื้อโลหะที่ไม่เหมือนกัน จะมีอัตราการถูกกัดกร่อนที่สูงกว่าโลหะที่มีเนื้อโลหะเดียวกัน โลหะบางชนิดมีแนวโน้มการถูกกัดกร่อนในอัตราที่สูงกว่าโลหะชนิดอื่น ทั้งนี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่มากกว่ากันจะเป็นบริเวณขั้วบวก เนื้อโลหะอื่นที่มีปฏิกิริยาน้อยกว่าก็จะเป็นบริเวณขั้วลบ. ลำดับการผ่านของประจุไฟฟ้าของโลหะและอัลลอยด์ในน้ำทะเลตามลำดับดังนี้
Anode end (Highest corrosion)
Magnesium Brass (60-40)
Zinc Brass (70-30)
Aluminum Copper
Mild steel Nickle
Cast iron Inconel (80Ni, 13Cr, 6.5Fe)
Stainless steel (active) Silver
Lead Stainless steel (passive)
Tin Monel (70Ni, 30Cu)
Manganese Bronze Titanium
Cathode end (Least corrosion)
บริเวณขั้วประจุบวกและขั้วประจุลบนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดบนผิวโลหะนั้นเนื่องมาจาก
อัตราการเกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้า หรือการเกิดการกัดกร่อนนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้าทำให้การเกิดไหลของไฟฟ้า.
ถ้าหากสังกะสีผสมกับทองแดง ไฟฟ้าจำนวนมากจะไหลผ่านเป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยามาก แต่ถ้าทองเหลืองผสมทองแดงจะมีไฟฟ้าไหลผ่านน้อยและจะเกิดปฏิกิริยาน้อยลงอย่างเห็นได้
เราพอจะทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดการถูกกัดกร่อนของโลหะข้างต้นแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าเราจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อน กันอย่างไรบ้าง ดังนี้
การป้องกันการเกิดประจุลบ ของเหล็กที่แช่อยู่ในน้ำ หรือ โครงสร้างใต้ดิน โดยใช้สังกะสีกันกร่อน (Zinc Sacrificial Anodes) เชื่อมติด หรือใช้น็อตยึดติดกับโครงสร้างเป็นช่วงระยะๆ และใช้ไฟฟ้าต่อกับโลหะที่ป้องกัน
สำหรับตัวเรือและโครงสร้างเหล็กในน้ำทะเล การใช้สังกะสีกันกร่อนเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนจะเป็นการควบคุมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยตัวมันจะเป็นตัวชักนำกระแสไฟและช่วยป้องกันโลหะจากการถูกกัดกร่อนของเรือทุกชนิดและแท่นขุดเจาะน้ำมัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตัดเปลี่ยน (ที่ผุกร่อน), ช่วยลดเวลาที่สูญเสียในการให้บริการ และค่าตรวจสอบ
สำหรับท่อใต้น้ำ การใช้สังกะสีกันกร่อนสามารถเปรียบเทียบได้กับการชุบสังกะสี (Zinc coating) โดยตัวมันเองจะค่อยๆแตกตัวเป็นสารละลายไฟฟ้า ในการทำปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าซึ่งจะช่วยป้องกันเหล็กจากการถูกทำลาย
สิ่งสำคัญที่เราต้องการคือการใช้สังกะสีกันกร่อนเพื่อเป็นขั้วประจุบวกบนแผ่นเหล็กทีเราต้องการไม่ให้ถูกกัดกร่อน หรือถูกกัดกร่อนในอัตรา, ช่วงระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้
การเสียสละถูกกัดกร่อน (sacrificial action) เป็นผลจากสังกะสีกับแผ่นเหล็กที่สัมพันธ์กันในลำดับการไหลของกระแสไฟฟ้า (Galvanic series) สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างท่อชุบสังกะสีกับการใช้สังกะสีกันกร่อนในงานท่อใต้ดินคือแทนที่จะยึดติดผิวหน้าของเหล็กทั้งหมด (ชุบสังกะสี) เราใช้สังกะสีกันกร่อนติดตั้งใกล้กับท่อใต้ดินโดยเชื่อมต่อกันได้
สังกะสีกันกร่อน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ป้องกันแท้งน้ำ และหอคอยแท้งน้ำจากการถูกกัดกร่อน โดยไม่จำเป็นต้องเคลือบ/ชุบสังกะสี เพียงแต่ติดตั้งสังกะสีกันกร่อนเพื่อใช้เป็นขั้วประจุไฟฟ้า Anodes โดยไม่มีอันตรายใดๆ และไม่ทำให้สีเสียหายจากความต่างศักดิ์ที่เกิน
(chemical composition : Percent byWeight)
Lead(Pb) 0.006 max.
Iron (Fe) 0.005 max
Copper (Cu) 0.005 max
Silicon (Si) 0.125 max
Aluminum (Al) 0.10-0.50
Cadmium (Cd) 0.025-0.15
Zinc (Zn) Remainder
Performance Data
Capacity 780 Amp-hr/kg
Potential (Cu/CuSO4) -1.08 volts
Efficiency 95%
KEYWORDS : Zinc Anode, สังกะสีกันกร่อน, ก้อนแร่/ แร่กันกร่อน / ซิงค์กันกร่อน / กันสนิม / ป้องกันสนิมเรือ / หลังเต่า / ขาเชื่อม / เจาะรูร้อยน็อต / ป้องกันการเกิดสนิมโลหะ / ป้องกันสนิมเหล็กใต้น้ำ / สนิมใต้ท้องเรือ / สนิมใต้ทะเล / สนิม น้ำเค็ม / น้ำกร่อย / ซิ้งค์กันกร่อน / ZINC ANODES / ALUMINIUM ANODE / แร่กันเหล็กกร่อน / ติดตั้งใต้ท้องเรือ / ติดกระดูกงูเรือ ป้องกันสนิม
เป็นผู้นำเข้า สินค้าอุตสาหกรรม จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดย มีสินค้าในหลากหลายหมวด โดยมีลูกค้ากระจากอยู่ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ตั้งแต่ เรือเดินทะเล คลังน้ำมัน โรงกลั่น แท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil rig and Offshore) โรงงานผลิตสี อู่ต่อเรือ มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ สหกรณ์ การไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเราเน้นความรวดเร็วในการบริการ และ มีสินค้าพร้อมจัดส่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าหลายรายการเป็นสินค้านำเข้า ทำให้มีโอกาสของขาด ดังนั้น ก่อนลูกค้าโอนเงิน รบกวนติดต่อฝ่ายขาย เพื่อยืนยันสินค้าก่อนค่ะ