ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

License and Certificate

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

Pilot Ladder and Embarkation Ladder

To whom it may concern

PILOT LADDER and EMBARKATION LADDER is comply with following specification.

SOLAS Chapter V Regulation 23.2.3

Construction details of pilot ladder

Construction details of pilot ladders.
Construction details of pilot ladders.

Drawing of Pilot Ladder Type A and Embarkation ladder

Click photo for all drawing or select from below list.

Number of steps and relative positions of spreaders

Number of steps and relative positions of spreaders
Sample: if you want pilot ladder of 10 steps, Spreader must be step number 5

List of Pilot ladder

Stock of Pilot Ladder
Photo: Stock of Pilot ladder
IDLength of
Pilot Ladder
ConstructionPosition of
Spreader
326523mtr4 x Step
1 x Spreader
4 x Rubber step
No. 5Buy
326534mtr8 x Step
1 x Spreader
4 x Rubber step
No. 5 Buy
394976mtr12 x Step
2 x Spreader
4 x Rubber step
No. 5
No. 14
Buy
394989mtr21 x Step
3 x Spreader
4 x Rubber step
No. 5
No. 14
No. 23
Buy
3949912mtr29 x Step
4 x Spreader
4 x Rubber step
No. 5
No. 14
No. 23
No. 32
Buy
12927Made to orderPlease call

List of Embarkation Ladder

Stock of Embarkation Ladder
Photo: Stock of Embarkation Ladder
IDLength of
Embarkation Ladder
CONSTRUCTION
326573mtr6 x Step
4 x Rubber step
Buy
326554mtr9 x Step
4 x Rubber step
Buy
395006mtr 15 x Step
4 x Rubber step
Buy
395028mtr20 x Step
4 x Rubber step
Buy
3950110mtr27 x Step
4 x Rubber step
Buy
3950312mtr33 x Step
4 x Rubber step
Buy
12928 Made to order Please call

Product Clip VDO

Product clip VDO
VDO clip of Embarkation Ladder
ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

มาตรฐาน เทปวัดน้ำมัน กับ ค่าคลาดเคลื่อน (Accuracy Standard & Error)

เทปวัดน้ำมัน Sounding Tape เป็นสินค้าควบคุมตาม พรบ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2542
Weights and Measures Act, B.E.2542 (1999) และ ตาม กฏกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด และ การกำหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด

เทปวัดน้ำมัน Dipping Tape ทุกตัวที่นำเข้ามาไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ Lufkin (USA) หรือ Richter (Germany) หรือ Bandmab WEISS (Germany) ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน พรบ. ซึ่งจะต้องส่งไปตรวจสอบที่ สำนักงานกลางชั่งตวงวัด

ในการตรวจ จนท. จะดึงสายเทปวัดน้ำมัน ออกมาวางบนโต๊ะที่ใช้ในการตรวจทีละเส้น หากตัวไหนไม่ผ่าน จนท.จะตัดสายเทปวัด เพื่อทำลายทิ้ง

ภาพเทปวัดน้ำมัน ที่รอตรวจ (Oil gauging Tape waiting for Certify by    Central Bureau of Weight and Measures (Government organization)
ภาพเทปวัดน้ำมัน ที่กำลังรอตรวจ

มาตรฐานการผลิต กับ มาตรฐานที่กำหนดตาม พรบ. มาตราชั่งตวงวัด

  • เทปวัดน้ำมัน Oil gauging tape ยี่ห้อ Lufkin เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศอเมริกา ผลิตตามมาตรฐาน API MPMS ซึ่งกำหนดค่า error ไว้ที่ 0.01% of Scale
  • เทปวัดน้ำมัน Sounding tape ยี่ห้อ Bandmab WEISS ที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน ผลิตตามมาตรฐาน EU Class II ซึ่งกำหนดค่า error ไว้ที่ 0.3+(0.2 x L)
  • เทปวัดน้ำมัน Dipping tape ยี่ห้อ Richter ที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน ผลิตตามมาตรฐาน EU Class II ซึ่งกำหนดค่า error ไว้ที่ 0.3+(0.2 x L)
  • ปล. คำว่า Oil Gauging tape, Sounding tape และ Dipping tape คือ ศัพท์เรียกสำหรับ สินค้าตัวเดียวกัน

สินค้าทั้ง 3 ยี่ห้อ เมื่อนำเข้ามาแล้ว ล้วนแต่จะต้องตรวจให้ผ่านด้วยมาตรฐานเดียวกัน นั่นคือ มาตรฐานที่กำหนดไว้ใน พรบ. มาตราชั่งตวงวัด

ชื่อ กฏกระทรวง ที่ระบุรายละเอียดมาตรฐานที่กำหนด และ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด
ที่มา: เว็บไซท์กองกฎหมาย กรมการค้าภายใน
ในวงสีแดง เป็นค่า error ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ใช้สำหรับตรวจสอบเทปวัดน้ำมันที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยเทปวัดน้ำมัน จัดเป็น เครื่องวัดชนิดที่ (๑๒) เครื่องวัดความยาวชนิดสายแถบโลหะที่ประกอบกับลูกดิ่ง ให้มีพิกัดตาม (๖) โดยเริ่มตั้งแต่ ๕ เมตร และ ไม่กิน ๕๐ เมตร และต้องทนแรงดึงได้อย่างน้อยเท่ากับน้ำหนักของลูกดิ่ง

ตัวอย่างการคำนวนค่า error

ตามสูตรคำนวน ใน พรบ. สมมุติ ณ. ความยาว 10 เมตร เมื่อนำเทปวัดน้ำมัน ไปเทียบกับเครื่องวัด Master ที่ได้ Calibrate มาแล้ว จะต้องมีค่า error ไม่เกิน
= 0.3 + ( 0.2 x 10 )
= 0.3 + 2
= 2.3 มม. (ทั้งมากกว่า หรือ น้อยกว่า)

เปรียบเทียบค่า Error ตาม กฎกระทรวง กับ มาตรฐาน EU Class II , API และ JIS standard.
ภาพเปรียบเทียบ ค่า error ตามมาตรฐานต่าง ๆ เปรียบเทียบ ณ. ความยาว ต่าง ๆ กัน

มาตรฐานในการตรวจรับสินค้า ที่กำหนดโดยลูกค้า

จากประสบการณ์ที่ผ่าน พบว่ามีลูกค้าคลังน้ำมันหลายบริษัท จะมีการกำหนดให้เทปวัดน้ำมัน ต้องส่งไปสอบเทียบเพิ่มเติม โดยกำหนดค่า Error ที่ยอมรับได้ไว้ต่ำมาก บางครั้งอ้างอิงจากเครื่องมือชนิดอื่น เช่น เวอร์เนีย หรือ ตลับเมตร และ บางแห่งยังระบุค่าความละเอียดในรายงาน ถึงจุดทศนิยม 3 ตำแหน่ง เช่น ค่าคลาดเคลื่อน 0.005 มม. เป็นต้น

ภาพเปรียบเทียบ สเก็ลวัด สำหรับ เทปวัดน้ำมัน ตลับเมตร และ เวอร์เนีย
ภาพเปรียบเทียบ สเก็ลวัด สำหรับ เทปวัดน้ำมัน ตลับเมตร และ เวอร์เนีย

จากรูปข้างบน จะเห็นได้ว่า เครื่องวัดประเภทเทปวัดน้ำมันนั้น ทั้งทางกฎหมาย ทั้งค่ามาตรฐานผู้ผลิต และ จากลักษณะการใช้งานที่วัดของเหลว หน่วยงานภายในที่มีหน้าที่ตรวจรับ ควรเลือกใช้ค่าความละเอียด, ค่า error ที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการตรวจรับสินค้า แล้วสินค้าไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขาย ธงสัญญาณ(signal flag)

Shipshape Sea Store Co.,ltd.
Read More

ธงที่ใช้ชักขึ้นเสาสูงบนเรือได้แก่ ธงสัญญาณ หรือธงประมวล (signal flag) และรวมถึงธงชาติ (National flag) ใช้ชักขึ้นเสาสูงเพื่อแสดงให้ทราบสัญญาลักษณ์ในการสื่อความหมายต่างๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางทะเลที่มีความรู้เรื่องธงสัญญาณ เมื่อเห็นธงสัญญาณหรือธงประมวลที่ชักขึ้นเสาจะทราบความหมายที่เรือนั้นสื่อสารเพื่อแจ้งให้ทราบตามระหัสสากลมีกำหนดไว้ในสมุด International Code of Signal  (2005 edition)

ชนิดของธงที่ใช้บนเรือ

  1. ธงชาติ (National flag) จะชักขึ้นเสาตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้น ถึงเวลาพระอาทิตย์ตก โดย ธงชาติชักขึ้นหัวเรือหรือท้ายเรือเพื่อแสดงสัญชาติของเรือ ส่วนธงชาติชักขึ้นเสากร๊าฟกลางลำ (Main Mast) เพื่อแสดงประเทศที่เรือเข้าท่าเรือของประเทศนั้นๆ
  2. ธงสัญญาน (signal flag) ประกอบด้วย

2.1 ธงอักษร (Alphabetical Flags) มี 26 ผืน (A to Z)

2.2 ธงหมายเลข, ธงสามเหลี่ยม (Numeral Pennant) มี 10 ผืน (0-9)

2.3 ธงแทน (Substitute Pennant) มี 3 ผืน ( 1,2,3 repeater)

2.4 ธงโค๊ตและตอบรับ (Code & Answering Pennant)

 

ความรู้เกี่ยวกับธงสัญญานมีแสดงไว้ในลิ้งค์ http://www.marinerthai.net/comms/viewsara6103006.php

ขอขอบคุณเว็ป marinertai.net

 

บริษัทชิพเชพ ซี สโตร์ ทำการเก็บสต็อกธงสัญญาน และธงชาติไทย และประเทศไกล้เคียงไว้เพื่อพร้อมส่ง ส่วนธงชาติอื่นๆใช้เวลา 3-5 วันในการสั่งทำ ธงสัญญานจะมีขนาด 3 x 4 ฟุต ส่วนธงชาติมีขนาด 2×3 ฟุต, 3×4 ฟุต และ 4×6 ฟุต ธงที่เก็บในสต็อกมีดังนี้

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขาย เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม ( Industrial thermometer )

จำหน่าย ปรอทวัดเครื่องจักร เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม มีทั้ง V-shape Industrial Thermometer และ O-shape Thermometer ทั้งแบบครบชุด และ เฉพาะ ไส้ปรอท

# # # สำหรับลูกค้าที่ต้องการ เช็คราคา กรุณาคลิกเลือกสินค้าที่นี่ค่ะ # # #

ความแตกต่างระหว่าง เทอร์โม type V และ type O

  1. รูปทรงของกระบอกโลหะ ถ้าเป็น type V หน้าปัดจะทำด้วยวัสดุอลูมิเนียมชุบ ตรงหน้าปัดจะยุบลงไป เป็นรูปตัว V
    ขณะที่ทรง O-shape ตัวกระบอกจะทำด้วย ทองเหลือง หรือ สแตนเลส (ซึ่งแพงกว่า) และเป็นกระบอกกลม เป็นรูปตัว O
  2. สเก็ลวัดของทรง O จะอยู่บนแผงอลูมิเนียม ติดกับแท่งแก้ว แต่ถ้าเป็นของทรง V ย่านวัดจะอยู่บนตัวบอดี้ ของกระบอก
  3. ไส้ของทรง V จะเป็นแค่แท่งแก้ว ไม่มีอุณหภูมิบอก ขณะที่ไส้ปรอทของทรง O จะมีแผงสเก็ลองศาระบุอยู่

O-shape Industrial thermometer

O-shape industrial thermometerการเลือกซื้อ เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม

  1. ลูกค้าต้องทราบ ช่วงอุณหภูมิ ที่ต้องการวัดค่า เช่น ปกติ เครื่องจักร จะมีความร้อนอยู่ที่ไม่เกิน 500 องศา ก็เลือก ปรอท 0-600 C
    หรือ ธรรมดา อุณหภูมิ เครื่องจักรไม่เกิน 80C ก็เลือก 0-100C เป็นต้น
    สำหรับ ลูกค้าต้องการแปลงหน่วยอุณหภูมิ Online คลิ๊กที่นี่ค่ะ
  2. การวัดเกลียว .. เนื่องจากหางของเทอร์โมมิเตอร์ จะเป็นเกลียวแป๊บ ไม่ใช่เกลียวน็อต ดังนั้น
    การวัดเกลียว จะต้องวัดทั้งขนาดความโตของเกลียว และ ต้องวัดเบอร์เกลียว โดยใช้หวีวัดเกลียว
    โดยลูกค้าควรใช้เวอร์เนียในการวัดความโต เพราะ ถ้ากะ ๆ เอาโดยใช้ไม้บรรทัดจะทำให้ระบุเกลียวผิดพลาดได้
    และสินค้าที่จัดส่งไปก็จะใช้งานไม่ได้
  3. วัดความยาวหาง (Probe) ที่ต้องการ โดย หางไม่ควรสั้นเกินไปเพราะ จะแหย่ไปไม่ถึงจุดที่ต้องการวัดความร้อน
    และ หางต้องไม่ยาวเกินไป จนไปยันท่อภายใน (จะทำให้ใส่ไม่ได้)
  4. ความยาวรวม หรือ ความสูงของหน้าปัด อันนี้ขึ้นอยู่กับหน้างานของลูกค้า คือ ถ้าเสื้อสูงไปจะทำให้บอดี้ไปชนกับเพดานด้านบน
    หรือ ถ้าเสื้อเตี้ยไป จะทำให้ตำแหน่งติดตั้งต่ำไป อาจจะมองไม่เห็น

ตารางเกลียว เทอร์โมมิเตอร์ Industrial thermometer (เกลียวแป๊บ)
เกลียว เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม

 

ประวัติ เทอร์โมมิเตอร์ Thermometer ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 จากการสังเกตุของเหลวที่ถูกเก็บไว้ในหลอดแก้วแคบๆจะมีระดับเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตามอุณหภูมิห้อง ทำให้เราพอสังเกตุทราบอุณหภูมิในขณะนั้นได้ และการที่มันมีระดับของการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมคงที่ในช่วงอุณหภูมิหนึ่งๆ จึงได้กลายมาเป็นเทอร์โมมิเตอร์ ที่มีความเที่ยงตรง และได้มาตรฐานในการวัด จึงถูกนำมาใช้กันมาจนทุกวันนี้ เจ้าของเหลวที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงขยายตัว-หดตัวตามอุณหภูมิขึ้นลงนั้นคือ ปรอทและ เอธานอล นั่นเอง

เจ้าของผลงานประดิษฐ์ เทอร์โมมิเตอร์ท่านแรกก็คือ แดเนียล กาเบรียล ฟาเรนไฮน์ (1686-1736) ท่านเป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ที่นำเอา เอธานอล มาใส่ใช้ในเทอร์โมมิเตอร์ในปี 1709 และ นำปรอทมาใส่ใช้ในเทอร์โมมิเตอร์ในปี 1714 ซึ่งปรอทจะมีคุณสมบัติที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิได้ไวกว่าและทนความร้อนได้สูงกว่า เอธานอล  ซึ่งต่อมาเขาได้รับเกียรติให้นำชื่อสกุล ฟาเรนไฮน์ มาใช้เป็นหน่วยบอกค่าอุณหภูมิ

ต่อมาในปี 1743 ท่านศาสตราจารย์ แอนเดอร์ เซลเซียส (อังกฤษ: Anders Celsius, พ.ศ. 1701- -1744) เป็นผู้คิดแบ่งช่องหรือขีดเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยกำหนดนับอุณหภูมิของน้ำแข็งเท่ากับ 0 องศา และที่จุดเดือดของน้ำที่ 100 องศา ต่อมาเขาได้รับเกียรติให้นำชื่อสกุล เซลเซียส มาใช้เป็นหน่วยบอกค่าอุณหภูมิอีกหน่วยหนึ่ง (ค่าขององศาฟาเรนไฮต์นี้ (F) มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32F และมีจุดเดือดที่ 212F โดยที่จุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำจะแตกต่างกัน 180 องศา โดยที่ 1 องศาในสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีค่าเท่ากับ 5/9 ของ 1  องศาเซลเซียส

อีกท่านหนึ่งคือท่านลอร์ด วิลเลียม ธอมสัน บารอน เคลวิน ที่หนึ่ง (อังกฤษ: William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) ท่านเป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ โดยได้พัฒนาคิดสเกลบอกองศาขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารนั้นเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)  (ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ. 1892 เพื่อเป็นเกียรติแก่การคิดค้นของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวิน ที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ แต่เนื่องจากเขาไม่มีทายาทสืบตระกูล ตำแหน่งบารอนเคลวินจึงมีเพียง บารอนเคลวินที่หนึ่ง เพียงคนเดียวเท่านั้น : ที่มา วิกิพีเดีย)

เทอร์โมมิเตอร์ Thermometers จึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือใช้วัดอุณหภูมิ โดยจะบอกให้เราทราบว่าวัตถุ, สิ่งของ หรือ บรรยากาศในบริเวณนั้นๆมีอุณหภูมิมีค่าเท่าใด ทำให้เราพอประเมินความรู้สึกร้อน-เย็นของอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์บอกค่านั้นได้ หรือนำค่าอุณหภูมิที่อ่านค่านั้นๆไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมขบวนการต่างๆต่อไป

หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศา ที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ ฟาเรนไฮต์ (F) เซลเซียส (C) และเคลวิน (K) (สำหรับประเทศไทยเราจะคุ้นเคยและนิยมใช้หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส (C) มากว่าองศา ฟาเรนไฮต์ (F) และ องศาเคลวิน (K) (หมายเหตุ :ประเทศที่มีการใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ในปัจจุบันได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ คอสตาริกา เปอร์โตริโก)

เนื่องจากคุณสมบัติของปรอทที่มีจุดเยือกแข็งและจุดเดือดที่ –38.9 และ 356.6 องศาเซลเซียสตามลำดับ จึงมีประโยชน์ในการใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำมากๆ ส่วน เอธานอล มีจุดเยือกแข็งและจุดเดือดที่ –114.1 และ 78.3 องศาเซลเซียส ตามลำดับ จึงมีประโยชน์ในการใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำมากๆ

นอกจากเราจะเห็นเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอทหรือแอลกอฮอล์ขึ้น-ลงรูปแท่งๆแก้วแล้ว เรายังจะเห็นเทอร์โมมิเตอร์ที่เป็นชนิดเข็มหน้าปัดชี้บอกอุณหภูมิ (Dial gauge thermometer)  ซึ่งก็ใช้หลักการการขยายตัวของของเหลวให้กลายเป็นความดัน เมื่อของเหลวในกระเปาะโลหะได้รับความร้อนมาก ของเหลวนั้นก็จะขยายตัวมากขึ้นตามอุณหภูมิ หากแต่เนื้อที่ในกระเปาะโลหะถูกจำกัด ทำให้เกิดความดันขึ้นในกระเปาะโลหะที่บรรจุของเหลวดังกล่าวขึ้น แล้วจึงนำอุปกรณ์วัดความดันมาวัดแรงดันเทียบกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลง แสดงผลบนหน้าปัดเป็นอุณหภูมิ

ยังมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิอีกชนิดหนึ่งที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเอาหลักการการตรวจจับรังสีอิฟาเรท (infraredraidation) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำไปแสดงผล การแปลงรังสีอินฟราเรดที่เซนเซอร์ตรวจจับได้ให้เป็นหน่วยของอุณหภูมิโดยอาศัยกฏของ Planck (Planck’s Law) และ กฎของ Stefan-Boltzmann (Stefan-Boltzmann’s Law)

 

# # # สำหรับลูกค้าที่ต้องการ เช็คราคา กรุณาคลิกเลือกสินค้าที่นี่ค่ะ # # #

 

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขาย เพรชเชอร์เกจ

จำหน่าย เพรชเชอร์เกจ (Pressure gauge) ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการตรวจวัดค่าความดันในระบบ หรือบางคนเรียกว่า เกจวัดแรงดัน โดยจะวัดทั้งของเหลว และ แก๊สในระบบท่อทางต่างๆ เพื่อแสดงให้รู้ว่าในระบบท่อทางนั้นมีแรงดันหรือไม่ โดยธรรมชาติของของไหล จะไหลจากความดันสูงไปสู่ความดันต่ำ ความดัน Pressure คือ ขนาดของแรงที่กระทำบนพื้นที่ต่อหน่วย ความดันจัดเป็นปริมาณสเกลาร์ คำนวณได้จากสูตร. ความดัน ( P ) = F/A หรือ P = mg/A. เช่นหน่วยความดัน Kpa, Kgf/cm2, psi, bar, atm

# # # สำหรับลูกค้าที่สนใจเลือกชมสินค้า และ เช็คราคา สามารถ คลิกได้ที่นี่ค่ะ # # #

เพรชเชอร์เกจ หรือ เกจวัดความดัน (Pressure gauge) ติดตั้งง่าย มีหลายชนิด ซึ่งควรศึกษาทำความเข้าใจ และเลือกซื้อเลือกใช้ได้ถูกต้องตามลักษณะงาน ดังนี้

  1. ชนิดของเกจ
    • เพรชเชอร์เกจ Pressure guage เกจวัดความดัน โดยจะมีค่าเริ่มต้นทางซ้ายที่ 0 และ ไล่ตามความดันไปทางขวา
    • คอมปาวเกจ Compound Gauge เกจผสมใช้วัดความดันและแรงดูด โดยค่า 0 จะอยู่ระหว่างหน้าปัด ทางซ้ายสุดจะวัดค่าสุญญากาศ Vacuum แรงดูด ส่วนด้านขวาจะวัดความดัน Pressure
    • แว็คคั่มเกจ Vacuum Gauge จัดแรงดูด โดยค่า 0 จะอยู่ทางขวาสุด และไล่ย้อนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อวัดค่าแรงดูด

ประเภท ของ เพรชเชอร์เกจ Type of Gauge

  1. ลักษณะรูปทรง (Shape) แบบ มีปีก (rim) / ไม่มีปีก (Rimless) และการต่อของเกลียว เช่นเกลียวลงล่าง Bottom Connect / เกลียวออกหลังกลาง Center back เพื่อง่ายและสะดวกในการเลือกแบบลักษณะจึงกำหนดเป็น A,B,D,F,G,K ตามภาพ

รูปทรงของ เกจวัดแรงดัน (Shape of Pressure gauge)

  1. ขนาดหน้าปัด มีขนาด 2.5” / 3” / 4” วัดเฉพาะหน้าปัดโดยไม่รวมปีก (rim)
  2. วัสดุ

หน้าปัด : เหล็ก / พลาสติก / สแตนเลส / ทองเหลือง

เกลียว : ทองเหลือง / สแตนเลส

4. ขนาดเกลียว Thread size เป็นอีกจุดที่มักจะวัดผิด และ เกจแต่ละยี่ห้อ ก็อาจจะมีเกลียวที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบชนิดเกลียว NPT/BSP โดยตรวจสอบ ขนาดโตนอก OD

ตารางเกลียว BSP and NPT

  1. แรงดัน เช่น 0-140psi / 10kgf/cm2 หรือ -76cmHg + 15 Bar ฯลฯ

ตารางเทียบแรงดัน

หรือ หากลูกค้าต้องการแปลงค่าความดัน online คลิ๊กไปที่เว็บนี้ค่ะ

  1. รายละเอียดอื่นๆ เรื่อง อื่น ๆ ที่ลูกค้าต้องการเพิ่มเติม เช่น

ความแม่นยำ +/- 1.0%, 1.5%, 2.0%, 3.0%

การใช้งาน Heat Resistant +80C

กันสะเทือน Vibration-Resistant

ใบรับรองของหน่วยงานเอกชน

ตัวอย่างการเขียนเบิก

  • เพรชเชอร์เกจ เหล็ก 4″ ทรง B สเกล 10กก = จำนวน 6 ตัว
  • คอมปาวเกจ สแตนเลส 2.5″ มีน้ำมัน ไม่มีปีก เกลียวลงล่างทองเหลือง สเก็ล +76 ถึง 5 Bar = จำนวน 2 ตัว

# # # สำหรับลูกค้าที่สนใจ สามารถเช็คราคา และ เลือกสินค้าได้ที่นี่ค่ะ # # #

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขาย เชือกมะนิลา ไทย, จีน

ขาย เชือกมะนิลา (Manila rope) ไทย, จีน

ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

เชือกมะนิลา ทำจากเส้นไย(Fiber)ธรรมชาติ ของพืช Musa Textilis หรือ Manila hemp เป็นเส้นไย (Fibre) ทีทำจากต้น Abaca (ในภาษาฟิลิปปินส์) ต้น Abaca เป็น ต้นกล้วยพันธ์พื้นเมืองชนิดหนึ่งของฟิลิปปินส์ ซึ่งเหมือนกล้วยป่าของเรา ต้น Abaca มีลำต้นสูง 4-6 เมตร โดยนำกาบ (ใบ) กล้วยมาฉีกเป็นเส้นไยเล็กๆ แล้วนำมาผึ่งแดดให้แห้ง ต่อจากนั้นจึงนำเส้นไยมาตีเกลียวเป็นเชือก

ในปัจจุบันทำกันเป็นสวนป่าอุสาหกรรมในการปลูกต้น Abaca เพื่อผลิตเส้นไยเพื่อการส่งออก และแปรรูปผลิตภัณฑ์เชือกมะนิลา ได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศเอควาดอร์ และประเทศคอสตาริก้า

ประโยชน์ และการนำมาใช้งาน

เชือกมะนิลา (Manila rope) ให้ความเหนียวทนแรงตึงได้ดี จึงถูกนำมาใช้งานในการลากจูงในทุกๆด้าน เช่นการประมง, การชักลาก, การผูกมัด ห้อยโหน เชือกมนิลามีข้อด้อยคือเชือกที่เปียกน้ำจะจมน้ำและน้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น และจะไม่คงทน เปื่อยยุ่ยได้ง่ายเมื่ออยูในสภาพเปียกชื้น จึงมีการนำเชือกมนิลามาชุบน้ำมัน เรียกว่าเชือกน้ำมัน หรือเชือก มาเร็น (Marline Tarred)

ผลิตจากเส้นไยธรรมชาติ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในงานบางประเภท เช่น เชือกสำหรับทำบันไดนำร่อง (Pilot ladder) บันไดช่วยชีวิต (lifeboat accommodation ladder) เชือกช่วยชีวิตเรือบต (life line for life boat) เชือกไส้ลวดผจญเพลิง (Fire rope) และยังเป็นที่นิยมใช้เป็นเชือกในการแข่งขันชักเย่อ, ใช้ประดับ-ตกแต่งสถานที่ และนำไปใช้พันหลักเสาให้น้องแมวเหมียวที่น่ารักทำการลับคมเล็บ

การเก็บรักษา

เพื่อยืดอายุการใช้งานของเชือกมะนิลาควรเก็บเชือกไว้ในที่ร่ม ไม่เปียกชื้น หากถูกนำไปใช้งานแล้วเปียกน้ำควรผึ่งให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกน้ำและความชื้นควรเก็บไว้ในที่สูงจากพื้นเช่นวางรองด้วยพลาเลท

มีจำหน่ายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-32มม. โปรดติดต่อฝ่ายขาย

 

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขาย โคมไฟเรือ Ship’s Lighting

โคมไฟเรือ (Ship’s lighting)

โครมไฟเรือ (Ship’s lighting) เว้นแต่เจ้าหน้าที่ตรวจชั้นเรือแล้ว เชื่อได้ว่าหลายๆท่านคงจะสับสนและไม่แน่ใจว่าโครมไฟต่างๆที่ใช้ติดตั้งบนเรือต้องใช้แบบใหน? อย่างไร? เพราะแต่ละโครมก็จะมีข้อกำหนดให้ต้องใช้แบบนั้นแบบนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจไม่สับสนจึงขอแยกโครมไฟเรือตามประเภทการใช้งานบนเรือ ได้แก่

  1. โครมไฟเรือเดิน (Navigation lights)
  2. โครมไฟส่องสว่างภายนอกดาดฟ้า (Deck lighting, Flood light)
  3. โครมไฟส่องสว่างในห้องเครื่อง (Engine room lighting)
  4. โครมไฟส่องสว่างทางเดินภายนอก (external passage way)
  5. โครมไฟส่องสว่างทางเดินภายใน (Indoor passage way)
  6. โครมไฟในห้องพักอาศัย (Accommodating lighting)
  7. โครมไฟส่องค้นหา (Searching light)
  8. ไฟแสดงการทำงาน (Pilot lighting)

โครมไฟต่างๆเหล่านี้มีลักษณะและข้อบังคับใช้ตามกฎหมายด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น SOLAS, COLREGs, HSE จึงจำเป็นต้องศึกษา เลือกใช้ ให้เหมาะกับเรือทั้งขนาดเรือ โวล์ทไฟเรือ และใบรับรองมาตรฐานการผลิตตรงตามข้อบังคับต่างเหล่านั้น

โคมไฟเรือ (Ship’s lighting) และหลอดไฟฟ้า (Bulbs) ที่บริษัทฯจำหน่าย
โคมไฟต่างๆสำหรับใช้งานบนเรือและแท่นุดเจาะน้ำมัน จะมีรูปลักษณะและการใช้งานโดยเป็นไปตามกฎหมายด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น SOLAS, COLREGs, HSE จึงจำเป็นต้องศึกษา เลือกใช้ ให้เหมาะกับเรือทั้งขนาดเรือ โวล์ทไฟเรือ และใบรับรองมาตรฐานการผลิตตรงตามข้อบังคับต่างเหล่านั้น

โครมไฟต่างๆจะผลิตตามมาตรฐาน IP (Ingress & Protection) หมายถึงสภาพการกันน้ำเข้าและกันฝุ่นละอองเข้าในอุปกรณ์

คำแนะนำในการสั่งซื้อหลอดไฟ
เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์หลอดไฟมีหลากหลายรูปแบบหลายชนิดและเพื่อช่วยในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์หลอดไฟในแต่ละดวง ตารางด้านนล่างนี้จะแสดงมาตรฐานรูปแบบของหลอดไฟ, ของไส้หลอดไฟ และของขั้วไฟ ดังนั้นดวงไฟหลอดไฟแต่ละดวงจึงสามารถเรียกชื่อเต็ม หรือใช้อักษรย่อแทนก็ได้.
ก.      รูปแบบของหลอดไฟ (Bulb Designation)
รูปร่างหลอดไฟมีหลายรูปแบบตามภาพปรากฏในตารางด้านล่าง ในแต่ละแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง ทั่วไปหลอดแก้วจะใช้แก้วชนิดบาง แต่แก้วหนาจะใช้กับหลอดที่วัตต์สูงๆและใช้งานภายนอก (out door) ภายในหลอดแก้วอาจเคลือบสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความสว่าง รวมถึงการเคลือบสารอะลูมิเนียมสะท้อนแสง ละมีหลอดสีต่างๆเพื่อใช้เฉพาะงาน

ข.      รูปแบบของไส้หลอดไฟ

ค.      รูบแบบขั้วไฟ

 

ง. ขนาดขั้วหลอดเกลียว

 

 

ข้อควรระวัง (caution)
1.       ขั้วหลอดไฟ E39 ไม่สามารถใช้ใส่กับฐานขั้ว E40 ในขณะที่ขั้วหลอด E40 สามารถใส่ในฐานขั้วหลอด E39 ได้ โปรดดูตารางด้านบนเปรียบเทียบตัวเลข E39 กับ E40 (d1 ของ E39 ใหญ่กว่าของ E40)
2.       ขั้วหลอด E26, E27 สามารถใช้สลับใส่ในฐานขั้ว E26,E27ได้ หรืออาจกล่าวว่าทั้งสองเป็นขนาดเดียวกัน

จ.รูปแบบฐานขั้วหลอดไฟ

ฉ. Mercury lamp Self-Ballast & Mercry lamp need ballast
ดูความแตกต่างที่ขนาดหลอดไฟและกำลังวัตต์

ชนิดของหลอดไฟที่บริษัทจำหน่าย
Incandescent lamp, Clear
Incandescent lamp, Frosted
High power Incandescent lamp, Clear
Navigation lamp, Tubular shape
Navigation lamp, Shape A60
Reflector lamp
Fluorescent Lamp
Fluorescent Lamp, Circle Type
Sealed beam lamp
Mercury Xenon Lamp
Halogen Lamp Type J
Halogen Lamp Type JTT
Halogen Lamp Type JD
Halogen Lamp, BI Pin
Spare bulb for Aldis lamp
Suez canal searchlight lamp
High pressure sodium, Type NHT
Metal Halide Lamp, Tubular shape.

ฝ่ายขายควรหมั่นดู ศึกษารายระเอียดหลอดไฟชนิดต่างๆใน คาตาลอกสินค้า

หลอดไฟไพร็อท, หลอดไฟจิ๋ว, หลอดไฟโทรศัพท์ (Pilot lamp, Miniature lamp, telephone lamp)
ในโรงงานอุตสหกรรมที่มีแผงควบคุมเครื่องจักร หรือ แผงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มักจะมีไฟดวงเล็กๆ บ้างก็เรียกว่า หลอดไฟไพร็อท (Pilot lamp), หลอดไฟจิ๋ว (Miniature lamp) หรือ หลอดไฟโทรศัพท์ (telephone lamp) มีไว้เพื่อแสดงการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์นั้นๆ หรือให้กระพริบเตือนไว้เพื่อแสดงว่าการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์นั้นมีการผิดปรกติเกิดขึ้น ทำให้ทราบสาเหตุหรือจุดบกพร่องและสามารถทำการแก้ไขเบื้องต้นได้ในทันที ช่วยลดความรุนแรงจากการเสียหายอันเกิดจากความผิดปรกติของเครื่องจักร อุปกรณ์นั้นๆ ดังนั้นหลอดไฟแสดงที่แผงควบคุมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หากหลอดไฟชำรุดไม่แสดงอาการเมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์ผิดปรกติหรือมีปัญหาก็อาจจะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์นั้นเสียหายหนักมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงต้องหยุดระบบเพื่อซ่อมทำใหญ่ หรือต้องเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์ใหม่ ซึ่งแน่นอนค่าใช้จ่ายและเวลาต้องเสียไป
หลอดไฟไพร็อท, หลอดไฟจิ๋ว, หลอดไฟโทรศัพท์ (Pilot lamp, Miniature lamp, telephone lamp) เป็นหลอดไฟขนาดเล็กทั้งสิ้น บางครั้งอาจเกิดความสับสนว่าเขาเรียกชื่อหลอดไฟกันอย่างไร เมื่อซื้อไปแล้วจะใช้กันได้ถูกต้องเหมือนกับของเดิมหรือไม่ เราจึงนำตารางมาของหลอดไฟจิ๋วแบบต่างๆที่มีมาเพื่อทำความเข้าใจและเรียกชนิดหลอดไฟได้ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไป เขาจะเรียกชื่อโดยระบุ
– ระบุชนิดขั้วหลอด เช่น BA9S, BA15d, E10, E12, Taunus type20, Taunus type 45
– ระบุความโตของหลอดดวงไฟ(D) และความยาวตลอดของหลอดไฟรวมฐานขั้ว (L)
– ระบุโวลท์
– ระบุ วัตต์หรือแอมป์
เพื่อสะดวกต่อการเลือกใช้หลอดไฟจิ๋วได้ถูกต้องจึงนำตารางชนิดของหลอดไฟจิ๋วมาแสดงไว้ดังนี้

      

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

คลิปทดสอบ เครื่องมือไม่เกิดประกายไฟ ( Non-sparking Tool )

เครื่องมือ ไม่เกิดประกายไฟ ( Non-sparking Tool ) บ้างก็เรียกว่าลดประกายไฟ (spark reduced)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัสดุ ที่ช่วยป้องกันประกายไฟ (spark proof) ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่ใช้ทำเครื่องมือ เช่น brass, bronze,
Monel metal (copper-nickel alloy), copper-aluminum alloys (aluminum bronze), or copper-beryllium alloys (beryllium bronze).

ภาพเครื่องมือ ที่ทำจากโลหะ Non-sparking tool

เครื่องมือ ที่ทำจากโลหะ Non sparking tool

 

รับชมคลิป ทดสอบการเกิดประกายไฟ Non-sparking Tool

ในคลิปจะเห็นว่า ตอนแรก ใช้ใบตัด ตัดสกัด non spark แล้วไม่มีประกายไฟ
แต่พอเปลี่ยนเป็นตัดแท่งเหล็ก จะมีประกายไฟจำนวนมาก จนผ้าที่ชุบน้ำมันไว้ติดไฟในตอนท้าย

 

คุณสมบัติของเครื่องมือ ต้านประกายไฟ

  1. โดยทั่วไปเครื่องมือมักทำขึ้นจาก Steel alloy หากต้องการทำเป็นเครื่องมือ Non-sparking แน่นอนความแข็งแรงของเครื่องมือย่อมลดลงกว่าเหล็ก
    เนื้อโลหะก็อ่อนลง การสึกกร่อนก็จะเร็วกว่าเครื่องมือเหล็ก
  2. เครื่องมือ Non-sparking ในบางครั้งจะเกิดมีประกายไฟแต่จะเป็น “ประกายเย็น” (cold spark)
    ซึ่งประกายไฟจะมีระดับอุณหภูมิต่ำจะไม่จุดติดแก๊ส carbon disulfide ซึ่งเป็นแก๊สที่มีจุดวาบไฟต่ำสุดเท่าที่เรารู้จัก
    ดังนั้นเครื่องมือ Non-sparking จึงเพียงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดประกายไฟเท่านั้น
    ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟได้
    ดังนั้นคำว่า “ลดประกายไฟ”(spark reduced) จึงน่าจะเป็นคำที่สื่อความหมายได้ถูกต้องกว่า
  3. สิ่งที่ไม่ใช่โลหะบางอย่างเช่นไม้, พลาสติก, หนังสัตว์
    สามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือไม่เกิดประกายไฟ (Non-sparking) ได้ดีเช่นทำพลั่ว, ที่โกยขยะ, ถังหิ้ว, ที่แซะพื้น ฯลฯ

ที่แซะสนิม Non-sparking tool

ซึ่งเมื่อขีดหรือกระทบกับวัตถุอื่นจะไม่เกิดประกายไฟ
เครื่องมือ “ไม่เกิดประกายไฟ”(Non-sparking)จึงเป็นตัวช่วยลดการเกิดประกายไฟจึงถูกนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในการติดไฟหรือระเบิด
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปฏิบัติงานไปตามขึ้นตอนในแบบประเมินความเสี่ยง และที่สำคัญมากคือการตรวจสอบปริมาณของแก๊สตามช่วงเวลากำหนด
เพื่อป้องกันไม่ให้แก๊สในบริเวณนั้นอยู่ในระดับเสี่ยงต่อการติดไฟหรือระเบิด
เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น Explosion proof เช่นมอเตอร์ไฟฟ้าต่างๆ
รวมทั้งการระบายอากาศเพื่อให้ส่วนผสมของแก๊สกับอ็อกซิเจนไม่อยู่ในช่วงเสี่ยงต่อการจุดติดไฟ
หรือการระเบิดโดยใช้เครื่องวัดแก๊สตรวจสอบระดับปริมาณส่วนผสมดังกล่าวเป็นระยะกำหนด

ค้อน Testing hammer Non-sparking tool

สนใจสินค้า ติดต่อ ฝ่ายขาย

Email:   ship@shipshapegroup.com
Line ID:  @shipstore
Tel: 02 874 1028 Ext.111
มือถือ: 083 179 9292

สนใจสินค้า ติดต่อ ฝ่ายขาย Email:   ship@shipshapegroup.com Line ID:  @shipstore Tel: 02 874 1028 Ext.111 มือถือ: 083 179 9292

สำหรับเครื่องมือช่าง Non spark ที่จำหน่าย (update 2017)

  1. FB มีสต๊อก พร้อมส่งมากกว่า 200 รายการ (คลิ๊กเพื่อเลือกชมสินค้า)
  2. Cromwell สินค้าเบิกในประเทศ
  3. AMPCO สินค้านำเข้า by order 15-20วัน
  4. TONSON สินค้านำเข้า by order 15-20วัน

สนใจสินค้า ติดต่อ ฝ่ายขาย Email:   ship@shipshapegroup.com Line ID:  @shipstore Tel: 02 874 1028 Ext.111 มือถือ: 083 179 9292

 

สนใจสินค้า ติดต่อ ฝ่ายขาย Email:   ship@shipshapegroup.com Line ID:  @shipstore Tel: 02 874 1028 Ext.111 มือถือ: 083 179 9292

หากลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการไม่พบ สามารถเลือกได้จากแคตตาล็อกเพิ่มเติม
หรือ ติดต่อ จนท. โดยส่ง line ภาพสินค้าที่ต้องการ มาที่ Line ID:   @shipstore ขอบคุณค่ะ

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

อุปกรณ์ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือ (Ship’s deck fitting)

อุปกรณ์ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือ(Ship’s Deck Fittings)

ในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ จำเป็นต้องตระเตรียมอุปกรณ์ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือ (Ship’s Deck Fittings)ไว้ให้พร้อมในการติดตั้งใหม่หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ติดตั้งที่ผุพัง ซึ่งบางชิ้นงานจำเป็นต้องขึ้นรูปหล่อขึ้นใหม่ หรือตัดเชื่อมซ่อมแซมส่วนที่ผุกร่อนให้เหมือนตามแบบ และต้องให้ได้ตามแบบมาตรฐานกำหนดของสถาบันตรวจเรือ Classification society รวมถึงความยุ่งยากในการทดสอบความทนแรงต่างๆและต้องเสียเวลาอย่างมากมายในการประกอบขึ้นรูปหรือซ่อมแซมดังกล่าว
ดังนั้นทางบริษัทชิพเชพ ซี สโตร์ จำกัด มองเห็นความจำเป็นดังกล่าวจึงได้ทำการเก็บสต็อกอุปกรณ์ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือ
เพื่อให้ทางอู่เรือ, เจ้าของเรือ, ผู้รับเหมาซ่อมทำ และซัพพลายเออร์ทั่วไป สามารถสั่งซื้อได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการขึ้นรูปหรือซ่อมแซมดังกล่าว

สินค้าทุกชิ้น ทางโรงงานได้ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน JIS พร้อมใบรับรองจากโรงงาน Mill Certificate

อุปกรณ์ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือ(Ship’s deck fitting) มีดังนี้
• guide roller
• guide roller + stand 2-3 rollers
• guide roller + stand closed type 2-3 rollers
• Panama chock type AC, type BC
• closed chock
• mooring chock
• chain stoppers
• bollard type A
• bollard type crossing
• rollers fairlead type A (4 rollers)
• rollers fairlead type BR (5 rollers)
• tanks manholes type-A,type-B, type-C
• air vent head
• cleats
• etc..

การบำรุงรักษา

ทุกชิ้นจะต้องกำหนดการบำรุงรักษาไว้ในแผนการบำรุงรักษาของเรือ
เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคงทน เช่น Rollers (หรือ ส่วนที่หมุนได้)
ต้องมีการตรวจสถาพใช้งานโดยสายตาทุกๆเดือน, อัดจาระบีทุกๆ 3 เดือน, ถอดทำความสะอาดทุกๆ 3 ปี เป็นต้น

 

เลือกชมสินค้า โปรดคลิ๊ก http://www.shipshapegroup.com/product-category/deck-equipment/

็Hull Fitting: Closed Chock

แคตตาล็อกสินค้า (หน้า 46-47) ค่ะ
หากไม่พบสินค้าที่ต้องการ ติดต่อ จนท. เพื่อสอบถามสินค้า
Line ID:  @shipstore    โทร  083 179 9292

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

อะไรคือข้อดีของสมอเรือไม่มีกะ ( Stockless Anchor Hall Type )

การทอด สมอเรือ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเรือ หลังจากดับเครื่องยนต์ เพื่อต้องการให้เรืออยู่ในตำแหน่งคงที่ในน้ำโดยไม่ไหลไปกับกระแสน้ำหรือกระแสลม
สมอเรือไม่มีกะ ( Stockless Anchor Hall type ) ได้รับการออกแบบมาสำหรับพื้นผิวท้องทะเลทุกประเภท
โดยน้ำหนักของตัวสมอเรือจึงเหมาะสำหรับการช่วยยึดเกาะพื้นท้องทะเลที่แข็ง
และมีความสามารถในการจิกยึดเกาะพื้นทราย และ/หรือโคลน
สมอเรือไม่มีกะนี้ออกแบบมาให้มีความทนทานและเรียบง่าย สะดวกต่อการใช้งาน

ภาพสมอเรือที่มีจำหน่าย

สนใจ สมอเรือ ติดต่อได้เลยค่ะ Line: @shipstore

สมอเรือไม่มีกะ (Stockless Anchor Hall type) จะไม่มีแขนกะใส่ขวางที่ตัวสมอ แต่มีผานสมอทั้งสองข้าง(เป็นท่อนเดียว)
จะหมุนได้เล็กน้อย (45 +/-1องศา) เพื่อให้ผานสมอทั้งสองคมสามารถจิกลงพื้นดินท้องทะเล
เมื่อสมอถูกทิ้งลงน้ำ น้ำหนักของตัวสมอจะกระแทกพื้นท้องทะเลและเมื่อสมอถูกลากไป
ทำให้ตัวสมอทำมุมและกดให้ผานสมอจิกลงบนพื้นดินมากขึ้น การยึดติดกับพื้นดินก็มั่นคงมากขึ้น
ปัจจุบันสมอเรือไม่มีกะแบบ Hull Type นี้ เป็นที่นิยมใช้กับเรือทั่วไปจนถึงเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและการจัดเก็บ

ศัพท์ชาวเรือ-สมอเรือ

  • หย่อนสมอ (Lowering anchor) หมายถึง ใช้กว้านสมอค่อยๆหย่อนสมอออกจากที่เก็บบนกว้านให้ห้อยไว้พ้นระดับน้ำเล้กน้อย หรืออาจหย่อนลงน้ำในกรณีย์น้ำลึกมาก
  • สะแตนบายสมอ (Standing by anchor) หมายถึง เมื่อหย่อนสมอได้ในระดับตามที่ต้องการแล้ว ให้ใช้เบรคกว้านเบรคยึดสมอเรือเอาไว้แล้วปลดกว้านออกจากยิปซีกว้าน ในลักษณะพร้อมปล่อยทิ้งสมอ
  • ทิ้งสมอ (Dropping anchor) หมายถึง ปล่อยสมอออกจากเบรคกว้าน สมอเรือและโซ่สมอก็จะไหลออกจากยุ้งเก็บโซ่สมอ
  • ทอดสมอ (Laying anchor) หมายถึง เรือจอดอยู่ในสภาพทิ้งสมอ
  • ถอนสมอ (Heaving up anchor) หมายถึง การกว้านดึงเก็บสมอขึ้นมา
  • หะเรียสมอ (Lowering anchor)  หมายถึง การปล่อยหรือหย่อนโซ่สมอออกจากเรือ
  • หะเบสสมอ (Heaving up anchor) หมายถึง การดึงกลับหรือกว้านเก็บโซ่สมอเข้ามาในเรือ
  • สมอตั้งตรง (Anchor upright) หมายถึง อาการโว่สมอเริ่มตั้งตรงดิ่ง เนื่องมาจากสมอหลุดจากพื้นท้องทะเล
  • สมอพ้นน้ำ (Anchor awash) หมายถึง สมอเรือถูกถอนหรือเก็บขึ้นจนตัวสมอขึ้นพ้นน้ำ
  • เก็บสมอ (Anchor home) หมายถึง การเก็บตัวสมอเข้าไว้ในซองโซ่ (Hawser)
  • สมอตึง (Anchor leaded) หมายถึงอาการโซ่สมอเริ่มตึงหลังจากทิ้งสมอ (แรกๆจะหย่อนกองบนพื้นดิน) เมื่อเรือไหลไป หัวเรือจะเริ่มหันกลับไปในทางทิศทางของโซ่สมอตึง ซึ่งบอกถึงอาการที่สมอกินดิน หรือยึดติดพื้นดนดีแล้ว
  • สมอเกา (Anchor Dragging) หมายถึง อาการที่เรือดึงลากสมอเรือครูดไปกับพื้นดิน (ไม่ยึดติดดิน) เนื่องมาจากลักษณะพื้นดินเป็นดินดานดินแข็งเกินไป หรือพื้นดินเป็นขี้เลนเหลวเกินไป ไม่สามาถยึดเรือให้อยู่กับที่
  • สมอติด (Anchor stuck) หมายถึง อาการที่ไม่สามารถกว้านเก็บสมอขึ้นมาได้ต่อไปอีก เนื่องมาจากสมอเรือติดขัดกับหินหรือซากเรือ

สนใจสมอเรือ โปรดติดต่อฝ่ายขาย Line ID:   @shipstore   หรือ โทร 083 179 9292

หรือ ต้องการเลือกดู สเป็กสินค้า http://www.shipshapegroup.com/product-category/marine-offshore-equipment/anchor-chain/

การจัดส่ง สมอเรือ

  1. กรณีเป็นสมอตัวเล็ก อาจจะใช้รถโฟล์คลิฟยกได้
  2. แต่ถ้าตัวใหญ่ ควรใช้เครนยกลงจะปลอดภัยกว่าค่ะ

หมายเหตุ สมอเรือของเราจะมี Crown Shackles ติดมาที่ปลายด้านบนอยู่แล้ว (ตามรูปค่ะ)

ภาพ สมอเรือ Anchor Hall ของเรามี Crown shackles ที่ปลายแล้วค่ะ

สนใจสมอเรือ ติดต่อได้เลยค่ะ Line: @shipstore

สนใจสมอเรือ ติดต่อได้เลยค่ะ Line: @shipstore

สนใจสมอเรือ ติดต่อได้เลยค่ะ Line: @shipstore

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ขายสังกะสีกันกร่อน (Zinc Anodes)

ขาย สังกะสีกันกร่อน ( Zinc Anodes )

สังกะสีกันกร่อน (Zinc Anodes) ใช้ติดกับโลหะเพื่อป้องกันการผุกร่อนของโลหะ โดยเป็นขั้วบวกของประจุไฟฟ้าทำให้ประจุลบของอิเล็คตรอนบนโลหะลดลง ซึ่งเป็นการช่วยลดการถูกกัดกร่อนของโลหะที่มีการติดตั้ง

สังกะสีกันกร่อน ( Zinc Anodes ) Weld on Type

สังกะสีกันกร่อน ( Zinc Anodes ) Weld on Type

> สนใจสั่งซื้อโปรดเลือกสินค้าที่ต้องการ <<

การกัดกร่อน (Corrosion)

เรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดการถูกกัดกร่อนบนโลหะ ซึ่งโดยปรกติแล้วเราจะสังเกตเห็นว่า โลหะทุกชนิดจะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ โดยมีสาเหตุจากการเกิด อุณหพลศาสตร์ (thermodynamically) หรือคุณสมบัติของสารเกิดการแปรเปลี่ยนไปซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในสะภาพแวดล้อมนั่นเอง โดยจะเกิดเป็นสารประกอบ(compounds) เช่นเกิด อ็อกไซด์, ซัลไฟด์ หรือ คาร์โบเนต  ตัวอย่างเช่นเหล็กจะเกิดปฏิกิริยาแปรเป็นสนิมเหล็ก Iron-oxide (rust) ซึ่งปฏิกิริยานี้เกิดมาจากการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอน หรือเรียกว่าปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (Electrochemical reaction)

ตรงบริเวณนี้ของเหล็กจะเริ่มถูกละลายไปกับน้ำ และกลายเป็นประจุลบ (จะมีประจุอิเล็กตรอนเหลืออยู่) เรียกว่าบริเวณ ขั้วบวก“Anodic Areas” ส่วนบริเวณอื่นที่ประจุลบไหลเวียนผ่านนั้นเรียกว่า บริเวณขั้วลบ “Cathodic areas” บริเวณที่โลหะสูญเสียอิเล็กตรอนไปกับน้ำและอ็อกซิเจน ปฏิกิริยานี้เรียกว่า การกัดกร่อน (Corrosion).

How to protect corrosion.

Note: photo from google.com

Galvanic series (ลำดับการไหลผ่านของประจุไฟฟ้า)

บริเวณขั้วบวกและบริเวณขั้วลบที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลหะที่มีเนื้อโลหะที่ไม่เหมือนกัน จะมีอัตราการถูกกัดกร่อนที่สูงกว่าโลหะที่มีเนื้อโลหะเดียวกัน โลหะบางชนิดมีแนวโน้มการถูกกัดกร่อนในอัตราที่สูงกว่าโลหะชนิดอื่น ทั้งนี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่มากกว่ากันจะเป็นบริเวณขั้วบวก เนื้อโลหะอื่นที่มีปฏิกิริยาน้อยกว่าก็จะเป็นบริเวณขั้วลบ.  ลำดับการผ่านของประจุไฟฟ้าของโลหะและอัลลอยด์ในน้ำทะเลตามลำดับดังนี้

Anode end (Highest corrosion)

Magnesium                        Brass (60-40)

Zinc                                        Brass (70-30)

Aluminum                           Copper

Mild steel                            Nickle

Cast iron                              Inconel (80Ni, 13Cr, 6.5Fe)

Stainless steel (active)     Silver

Lead                                      Stainless steel (passive)

Tin                                          Monel (70Ni, 30Cu)

Manganese Bronze         Titanium

Cathode end (Least corrosion)

บริเวณขั้วประจุบวกและขั้วประจุลบนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดบนผิวโลหะนั้นเนื่องมาจาก

  • ความแปรปรวนของน้ำ เช่นความเข้มข้นของอ็อกซิเจน ความเป็นกลาง สารละลายเกลือ ในน้ำ บริเวณขั้วประจุบวก (Anode area) เกิดขึ้นได้โดยส่วนของโลหะสำผัสกับน้ำที่มีส่วนผสมของอ็อกซิเจนเบาบาง หรือสัมผัสกับน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือที่เข้มข้นกว่า
  • ความแตกต่างของอุณหภูมิ บริเวณขั้วประจุบวกสามารถเกิดขึ้นได้จากบริเวณที่ร้อนกว่าของเหล็กที่มีคลอไรด์เบาบางกว่า แต่โลหะทองแดงและตะกั่วบริเวณที่ร้อนกว่าจะเกิดเป็นบริเวณขั้วลบ
  • แรงเคลียดในเนื้อโลหะ โดยการแปรสภาพของโลหะหรือโลหะถูกเชื่อมขึ้นรูป แรงเคลียดนี้ทำให้เกิดบริเวณขั้วบวกขึ้น

อัตราการเกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้า หรือการเกิดการกัดกร่อนนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้าทำให้การเกิดไหลของไฟฟ้า.

ถ้าหากสังกะสีผสมกับทองแดง ไฟฟ้าจำนวนมากจะไหลผ่านเป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยามาก  แต่ถ้าทองเหลืองผสมทองแดงจะมีไฟฟ้าไหลผ่านน้อยและจะเกิดปฏิกิริยาน้อยลงอย่างเห็นได้

การป้องกันการถูกกัดกร่อน (Protection against corrosion)

เราพอจะทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดการถูกกัดกร่อนของโลหะข้างต้นแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าเราจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อน กันอย่างไรบ้าง ดังนี้

การป้องกันการเกิดประจุลบ ของเหล็กที่แช่อยู่ในน้ำ หรือ โครงสร้างใต้ดิน โดยใช้สังกะสีกันกร่อน (Zinc Sacrificial Anodes) เชื่อมติด หรือใช้น็อตยึดติดกับโครงสร้างเป็นช่วงระยะๆ และใช้ไฟฟ้าต่อกับโลหะที่ป้องกัน

การใช้งาน Application

สำหรับตัวเรือและโครงสร้างเหล็กในน้ำทะเล การใช้สังกะสีกันกร่อนเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนจะเป็นการควบคุมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยตัวมันจะเป็นตัวชักนำกระแสไฟและช่วยป้องกันโลหะจากการถูกกัดกร่อนของเรือทุกชนิดและแท่นขุดเจาะน้ำมัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตัดเปลี่ยน (ที่ผุกร่อน), ช่วยลดเวลาที่สูญเสียในการให้บริการ และค่าตรวจสอบ

สำหรับท่อใต้น้ำ การใช้สังกะสีกันกร่อนสามารถเปรียบเทียบได้กับการชุบสังกะสี (Zinc coating) โดยตัวมันเองจะค่อยๆแตกตัวเป็นสารละลายไฟฟ้า ในการทำปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าซึ่งจะช่วยป้องกันเหล็กจากการถูกทำลาย

คุณลักษณะของสังกะสีกันกร่อน

  • สังกะสีกันกร่อนผลิตจากสังกะสีบริสุทธ์ โดยผลิตขึ้นตามข้อกำหนดของ U.S.Military Specification : MIL-A-18001-H
  • สังกะสีกันกร่อน หล่อขึ้นพร้อมแถบเหล็กเพื่อใช้เชื่อมติดกับเหล็กได้เลย หรือหลอมติดกับน็อตสตัดไว้เพื่อยึดติด หรือผลิตเป็นก้อนแร่(ingot) หรือเป็นแท่ง ซึ่งแล้วแต่การนำไปใช้งาน
  • สังกะสีกันกร่อนผลิตขึ้นมากหลายขนาดหลายรูปแบบตามการใช้งาน อย่างไรก็ตามสามารถผลิตตามขนาดและรูปแบบอื่นๆตามต้องการ
  • สังกะสีกันกร่อน มีคุณสมบัติในการใช้งานที่ให้ประสิทธิผลที่สม่ำเสมอยาวนาน จึงเป็นการประหยัดในการลงทุนเพื่อการป้องกันการถูกกัดกร่อน

สิ่งสำคัญที่เราต้องการคือการใช้สังกะสีกันกร่อนเพื่อเป็นขั้วประจุบวกบนแผ่นเหล็กทีเราต้องการไม่ให้ถูกกัดกร่อน หรือถูกกัดกร่อนในอัตรา, ช่วงระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้

การเสียสละถูกกัดกร่อน (sacrificial action) เป็นผลจากสังกะสีกับแผ่นเหล็กที่สัมพันธ์กันในลำดับการไหลของกระแสไฟฟ้า (Galvanic series) สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างท่อชุบสังกะสีกับการใช้สังกะสีกันกร่อนในงานท่อใต้ดินคือแทนที่จะยึดติดผิวหน้าของเหล็กทั้งหมด (ชุบสังกะสี) เราใช้สังกะสีกันกร่อนติดตั้งใกล้กับท่อใต้ดินโดยเชื่อมต่อกันได้

สังกะสีกันกร่อน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ป้องกันแท้งน้ำ และหอคอยแท้งน้ำจากการถูกกัดกร่อน โดยไม่จำเป็นต้องเคลือบ/ชุบสังกะสี เพียงแต่ติดตั้งสังกะสีกันกร่อนเพื่อใช้เป็นขั้วประจุไฟฟ้า Anodes โดยไม่มีอันตรายใดๆ และไม่ทำให้สีเสียหายจากความต่างศักดิ์ที่เกิน

U.S. Military Specification MIL-A-18001-H (รายละเอียดมาตรฐาน โปรดตรวจสอบกับ www.dla.mil)

(chemical composition : Percent byWeight)

Lead(Pb)                               0.006 max.

Iron (Fe)                                0.005 max

Copper (Cu)                         0.005 max

Silicon (Si)                             0.125 max

Aluminum (Al)                    0.10-0.50

Cadmium (Cd)                     0.025-0.15

Zinc (Zn)                                Remainder

 

Performance Data

Capacity                               780 Amp-hr/kg

Potential (Cu/CuSO4)       -1.08 volts

Efficiency                             95%

KEYWORDS : Zinc Anode, สังกะสีกันกร่อน, ก้อนแร่/ แร่กันกร่อน / ซิงค์กันกร่อน / กันสนิม / ป้องกันสนิมเรือ / หลังเต่า / ขาเชื่อม / เจาะรูร้อยน็อต /  ป้องกันการเกิดสนิมโลหะ /  ป้องกันสนิมเหล็กใต้น้ำ / สนิมใต้ท้องเรือ /  สนิมใต้ทะเล / สนิม น้ำเค็ม /  น้ำกร่อย /  ซิ้งค์กันกร่อน /  ZINC ANODES / ALUMINIUM ANODE / แร่กันเหล็กกร่อน / ติดตั้งใต้ท้องเรือ / ติดกระดูกงูเรือ ป้องกันสนิม

บริษัท ชิพเชพ ซี สโตร์ จำกัด

เป็นผู้นำเข้า สินค้าอุตสาหกรรม จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดย มีสินค้าในหลากหลายหมวด โดยมีลูกค้ากระจากอยู่ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ตั้งแต่ เรือเดินทะเล คลังน้ำมัน โรงกลั่น แท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil rig and Offshore) โรงงานผลิตสี อู่ต่อเรือ มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ สหกรณ์ การไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเราเน้นความรวดเร็วในการบริการ และ มีสินค้าพร้อมจัดส่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าหลายรายการเป็นสินค้านำเข้า ทำให้มีโอกาสของขาด ดังนั้น ก่อนลูกค้าโอนเงิน รบกวนติดต่อฝ่ายขาย เพื่อยืนยันสินค้าก่อนค่ะ

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

สี APEXIOR Compound No.3 ขนาด 1GAL

APEXIOR COMPOUND NO.3 size 1GALLON

สีตัวนี้ เป็นสารประกอบเชิงเดี่ยว(ไม่ต้องมีสารประกอบอื่นผสม) ใช้ทาทับผิวหน้าโลหะเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนในบริเวณด้านที่ถูกแช่อยู่ในน้ำ tanks compound ทนอุณหภูมิ 50C (125F), จุ่มแห้งจุ่มเปียก หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง สี Apexior No 3 นี้แห้งได้เองโดยสภาพอากาศภายนอก(ไม่ต้องอบร้อน) และแช่อยู่ได้ยาวนานทั้งในน้ำทะเลและน้ำจืด จึงเหมาะที่จะถูกเลือกใช้เป็นสารเคลือบผิวหน้าโลหะเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนเป็นจุดหลุมบ่อ และหยุดยั้งการถูกกักกร่อนบริเวณเริ่มเกิดสนิม ยกเว้นบริเวณที่เกิดสนิมมากแล้วซึ่งจำเป็นต้องทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทาสี

>> สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือเช็คราคา คลิ๊กที่นี่ค่ะ <<

APEXIOR COMPOUND NO.3 SIZE 1GALLON

TANK COMPOUND Ref IMPA: 450562

ส่วนหรือบริเวณที่จะแนะนำให้ใช้ เพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนจากการเปียกชื้นน้ำดังนี้

  • เครื่องทำความเย็น (Chillers)
  • ถังเก็บน้ำเย็น (Cold water storage tanks)
  • ส่วนฝาและเปลือกคอนเดนเซอร์ (Condenser heads and shells)
  • ภายในบริเวณเครื่องรับอากาศ (Inside shell of AC units)
  • ตัวเสื้อปั๊มน้ำจืดและน้ำทะเล (Pump casings on fresh/salt water intakes)
  • ภายในตัวปั๊ม (Inner housings of pumps)
  • หลุมดูดน้ำ และ ห้องยุ้งโซ่สมอ (Sump pump pits and chain lockers)
  • บ่อน้ำทิ้ง และ ถังหัวเรือ (Bilge and forepeak tanks)
  • ถังน้ำอับเฉาและถังน้ำทะเล (Ballast and brine tanks)

บริเวณที่ไม่แนะนำให้ใช้

  • จุ่มแช่อยู่ในสารละลาย หรือน้ำกรด (Immersion in solvents or acids)
  • จุ่มแช่อยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 60 C  (Water immersion service above 140°F (60°C))
  • ถังเก็บน้ำเพื่อการบริโภค (Potable water storage tanks)

อุณหภูมิที่ทนได้ สำหรับ Apexior No 3

  • Wet surface ผิวโลหะที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือ น้ำทะเล ที่มีอุณหภูมิ ไม่เกิน 52C (125F)
  • Dry hot surface ผิวโลหะที่แห้งและร้อน ทนได้ไม่เกิน 200C (400F)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทาน้ำยา

  • แปรงทาสี หรือ แปรงขาหมา (Dog leg brush) เพื่อแหย่เข้าไปภายในวาล์ว หรือพื้นที่แคบ
  • กาพ่นสี
  • ลูกกลิ้งทาสี

วิธีการใช้งาน

  • คนน้ำยา Apexior no.3 ให้ทั่ว
  • ไม่ต้องใช้ทินเนอร์
  • หากจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนด

การเตรียมพื้นผิวโลหะ

  • ทำความสะอาด เอาสารเคลือบ, ฝุ่น, น้ำมัน, จารบี, สีเดิม ออกก่อน
  • ฉีดพ่นด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างคราบสกปรก และ ขี้เกลือออก
  • อาจจะเคาะสนิม ด้วยปืนยิงสนิม หรือ พ่นทราย หรือ แปรงลวดถ้วย
  • ทำความสะอาดรอยแนวเชื่อมด้วยแส้ลม (แส้ยิงสนิม)

พื้นที่ และ ระยะเวลารอแห้ง

  • สีอะเพ็คซิเออร์ นัมเบอร์3 สามารถทาได้ 12.4 ตรม. ถึง 13.8 ตารางเมตร / ลิตร
  • แห้งจนจับได้ (Touch Dry) ที่ 15C ภายใน 8ชม. / ที่ 25C ภายใน 4ชม. / ที่ 35C ภายใน 2ชม.
  • แห้งจนใช้งาน (Hard Dry) ที่ 15C ภายใน 24ชม. / ที่ 25C ภายใน 12ชม. / ที่ 35C ภายใน 8ชม.
  • กรณีทาทับหน้าใช้ระยะเวลาแห้ง ประมาณ 8-24ชม. ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ

link ผู้ผลิต Berger Paint Singapore

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม สามารถเช็คได้จากเว็บต่างประเทศ www.dampney.com , www.bergerpaints.com.sg

สินค้าตัวนี้ อ้างอิงตาม IMPA catalog เลข ISSA: 450562 APEXIOR COMPOUND NO.3 ขนาดบรรจุ 1GAL

ต้องการเช็คสต๊อกสินค้า โปรดติดต่อฝ่ายขาย

ข้อควรระวัง

  • สีตัวนี้เป็นวัตถุไวไฟ Flammable liquids Category 3
  • ไอระเหยเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ Acute toxicity: Inhalation Category 1
  • สวมถุงมือป้องกัน
  • ใส่แว่นตา
  • ใส่ชุดป้องกัน
  • เก็บให้พ้นจาก ความร้อน ประกายไฟ เปลวไฟ และ พื้นผิวที่ร้อน
  • ห้ามสูบบุหรี่ขณะทำงาน
  • ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ป้องกันการระเบิด (explosion-proof electrical)
  • จัดให้มีการระบายอากาศ
  • ใช้เครื่องมือ Non sparking tool
  • โปรดระวังอันตรายจากไฟฟ้าสถิตย์
  • ปิดผนึกกระป๋องให้สนิท
  • ทำงานบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
  • ไม่สูดดมไอระเหยของสีอะเพ็กเซีย
  • กรณีติดไฟ ให้ใช้ Dry chemical, CO2, water spary (fog) หรือ โฟม ในการดับไฟ

ดาวโหลดเอกสารประกอบ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (first aid from MSDS)

  • ดวงตา กรณีกระเด็นเข้าตา ให้รีบล้างน้ำทันที แล้วส่งต่อโรงพยาบาล
  • ผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือ คลีมทำความสะอาดอุตสาหกรรม ห้ามใช้ ทินเนอร์ หรือ Solvents
  • สูดดม ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่ทำงาน ไปยังที่มีอากาศถ่ายเท ปลดเสื้อ หรือ ชุดหมี และให้ผู้ป่วยได้นอนพัก
  • เข้าปาก อย่าล้วงคอให้อ้วก แต่ให้รีบพาไปส่งโรงพยาบาลทันที

บริษัท ชิพเชพ ซี สโตร์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท จำหน่ายให้กับลูกค้าหลายกลุ่ม โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ เรือน้ำมัน คลังน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน โรงกลั่น อู่ต่อเรือ ฯลฯ โดยเน้นความรวดเร็วในการจัดส่ง เราจึงสต๊อกสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะจาก USA, จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯลฯ

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

เชือกผูกเรือ Mooring rope : เชือกเทียบเรือ Hawser PP & Mix rope : เชือกเรือ

เชือกผูกเรือ หรือ เชือกเรือ ( Mooring rope ) นั้น ใช้สำหรับจอดเทียบท่าเรือ โดยตรงปลายของ เชือกเทียบเรือ จะมีห่วงหุ้มผ้าใบ (Hawser rope  with 1.8mtr canvas covered eye at each end) ไว้สำหรับเอาไปคล้องกับพุกผูกเชือก (Bollard) เชือกเรือ ที่มีคุณสมบัตลอยน้ำจะสะดวกกับการใช้งาน โดยเชือกเนื้อ PP ที่เราจำหน่ายจะมีค่าความถ่วงจำเพาะ ที่ 0.99 และ เนื้อ Mix rope จะมีค่า ถ.พ. ที่ 0.91 ซึ่งลอยน้ำเช่นกัน

 

สำหรับลูกค้าที่สนใจสอบถามราคา หรือ ขอรายละเอียดเพิ่มเติม

สามารถเลือกดูได้จาก สินค้าหมวดเชือกผูกเรือ
หรือ ติดต่อพนักงานขาย ได้ที่  Tel: +66 (2) 874-1027 Ext.111 Mobile: +66 (83) 179-9292
Fax: +66 (2) 874-1030 ship@shipshapegroup.com
Line@ ID : @shipstore

ขายเชือกผูกเรือ Mooring rope

วัสดุ ของ เชือกผูกเรือ มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับแรงดึงที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น

  1. เชือกมะนิลาซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ
    เชือกมะนิลา
  2. เชือกพลาสติกที่เรียกว่า เชือกสายมานใยยักษ์ บางคนเรียกว่า เชือกโปลี โดยจะทำจากพลาสติกโพลีโพรพิลีน Polypropylene Mono filament DAN line
    เชือกผูกเรือ PP DAN polypropylene
  3. เชือก Mixed rope ที่ผสมจาก Polyester กับ Polypropylene (PE+PP)
    เชือกเทียบเรือ

บริษัท ชิพเชพ ซี สโตร์ จำกัด เป็นผู้นำเข้า เชือกผูกเรือจากประเทศเกาหลีใต้ โดยเรานำเข้าจากโรงงาน Daejung

  1. โรงงานเชือก Daejung เป็นโรงงานที่ก่อตั้งมากว่า 40ปี (ตั้งแต่ปี 1977)
  2. เชือกเทียบเรือ Daejung ได้รับมาตรฐาน ISO ในปี 2009
  3. โรงงาน Daejung เป็นโรงงานเดียว(นอกเอเชีย) ที่ได้รับสิทธิ์ในการผลิต และจำหน่ายเชือก ATLAS ของยุโรป
  4. เชือกผูกเรือจะมาพร้อมกับใบรับรอง (ตัวจริง) จากคลาส lloyd’s ทุกม้วน ด้วยความที่เราสั่งผลิตมาเก็บสต็อก คราวละ ร้อยกว่าม้วน จึงคุ้มที่จะตามเซอร์เวเยอร์ มาตรวจรับรองทุกครั้ง ซึ่งจะต่างกับการที่โรงงานทยอยผลิต โดยโรงงานเหล่านั้นจะตามเซอร์เวเยอร์มาตรวจรับรองเชือกตัวอย่างครั้งนึง ต่อมาเมื่อมีการผลิตล็อตถีดๆ ไป ก็จะ xerox ใบเซอร์เชือกผูกเรือ ให้ลูกค้า จึงทำให้ในการทยอยผลิตล็อตถัดๆมา ไม่มีต้นทุนค่าใบรับรองดังกล่าว
  5. บริษัท ชิพเชพ ฯ เป็นตัวแทนจำหน่าย เชือกผูกเรือ Daejung มาแล้วกว่า 6ปี (ตั้งแต่ปี 2554) จำหน่ายให้ลูกค้าเรือไปแล้วกว่า 1,900 ตัน ลูกค้าจึงมั่นใจได้ในคุณภาพสินค้า

    Supply hawser Mix rope

ตำแหน่งในการผูก เชือกเรือ (Typical mooring scheme)

เพื่อให้เรือสามารถจอดเทียบท่าได้อย่างปลอดภัย ในการจอดเทียบจึงต้องผูกเชือกผูกเรือไว้ หลายตำแหน่ง

  • Head line = Keep forward part of the ship against the dock
  • Forward Breast Line = Keep close to pier
  • Forward Spring = Prevent from advancing
  • Aft Spring = Prevent from moving back
  • Aft Breast line = Keep close to pier
  • Stern line = Prevent forwards movement

ที่มา Wiki

อุบัติเหตุ หรือ อันตรายจาก Mooring rope

เนื่องจากเชือกเทียบเรือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องรับแรงดึง หากเชือกขาด ก็จะมีเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ดังนั้น ในการใช้งาน เชือกเรือ ตรงจุดต่าง ๆ คนเรือ จะต้องใช้งานด้วยความระมัดระวัง

  • ในการเอามือจับห่วงไปคล้องกับ พุกผูกเชือก ระวังชักมือออกไม่ทัน แล้วโดนเชือกรัดนิ้ว อาจจะทำให้นิ้วหัก หรือนิ้วขาดได้
  • ในการยืน เดิน บริเวณ ปากเรือ อาจจะมีโอกาศที่เชือกขาด แล้วดีดกลับมาโดนร่างกาย อาจจะทำให้กระดูกหัก หรือ ตายได้
    (มีเคส จริง ที่คนเรือเสียชีวิต เนื่องจากเชือกขาดแล้วดีดกลับมาโดนคนเรือ)

ข้อควรระวังในการใช้งาน เชือกเทียบเรือ

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเชือกเรือ Mooring rope ที่ต้องการมีค่าแรงดึง (MBL) ที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบสภาพเชือกเทียบเรืออยู่สม่ำเสมอ ว่าไม่ขาด หรือ เปื่อย
  • ตรวจเช็ค อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  ไม่ว่าจะเป็นโรลเลอร์ Roller Fairlead, พุกผูกเรือ Mooring, รูร้อยเชือก Closed Chock, Panama hole
  • ตรวจดูสภาพอากาศ ว่าเหมาะสมในการเทียบเรือ
  • ขณะปฏิบัติงาน ให้เข้าพื้นที่เฉพาะ จนท.ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้เชือกปนกันในแต่ละตำแหน่งผูกเชือก อย่าเอาเชือกคนละชนิด หรือ คนละขนาดมาใช้งานปนกัน

เกลียวของเชือกผูกเรือ (Strand)

  • เชือกเรือโดยทั่วไป จะมีเกลียว 8เกลียว สำหรับบางรุ่น จะทำมา 12 เกลียว
  • นอกจากนี้เรือลำเล็ก ๆ อาจจะใช้เชือก 3 เกลียว หรือ เชือกใยยักษ์สายมาน 4 เกลียวในประเทศก็ได้

ค่าแรงดึง (Strength)

  • เชือกแต่ละชนิดมีความเหนียวไม่เท่ากัน โปรดตรวจสอบค่าแรงดึงที่ต้องการก่อนสั่งซื้อ
  • เชือกผูกเรือ เนื้อ mixed rope จะมีค่าแรงดึงมากกว่าในขนาดเส้นรอบวงที่เท่ากัน ดังนั้น ในการทำงาน เชือกที่ค่าแรงดึงสูงจะมีน้ำหนักเชือกน้อยกว่า
    ตัวอย่างเช่น เรือ tug ที่ปกติต้องใช้เชือก PP ขนาด 10 นิ้วในการโยก ลากจูงเรือ แล้วเชือกนั้นขาดบ่อย ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น Mix ขนาดเท่ากัน ซึ่งจะใช้งานได้คงทนกว่า

ชมคลิป วีดีโอ

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

คู่มือการใช้มารีนวาล์ว (Marine valve) วาล์วเรือ JIS standard 5K 10k

How to lifted big marine valve correctly
Read More

คู่มือการใช้มารีนวาล์ว (Marine valve) วาล์วเรือ JIS standard 5K 10k ที่ถูกต้อง

ก่อนอื่นบทความนี้มีความตั้งใจที่จะทำความเข้าใจกับลูกค้า ว่าทำไมเทส Marine valve จากโรงงานแล้ว เราจึงต้องนำมา QC อีกครั้ง
เพราะ ในหลายกรณี marine valve รั่วจากการขนส่ง ดังนั้นเราจึงต้องทดสอบวาล์ว JIS standard 5k, 10k ก่อนส่งมอบให้ลูกค้า

  1. ก่อนเริ่มใช้งาน marine valve
    • ให้ตรวจสอบสเป็ก ให้แน่ใจก่อนว่าวาล์ว standard JIS ที่กำลังจะสั่งซื้อ มีสเป็กถูกต้อง เช่นลิ้นกันกลับ, แกนโผล่, วัสดุ เป็น jis standard 5k, 10k หรือ วาล์วบก Industrial standard
    • เมื่อยกวาล์วขนาดใหญ่ (lifting big size of marine valve) ให้ใช้เชือกคล้องรอบตัววาล์ว เมื่อยกวาล์วขนาดใหญ่ ให้ใช้เชือกคล้องรอบตัววาล์ว หรือ ตรงคอวาล์ว (Yoke) ตามภาพ
      How to lifted big valve correctly

      เมื่อต้องการทดสอบวาล์ว (เทสวาล์ว) จำเป็นต้องยกวาล์วขึ้นเพื่อใส่หน้าแปลนทดสอบ

    • อย่าเอาเชือก ผูกที่พวงมาลัยวาล์ว อย่าเอาเชือกผูก ที่แกนมาลัยวาล์ว เพราะ จะทำให้แกนวาล์วเสียหายได้
    • อย่าวางวาล์ว ไว้ภายนอก แม้จะเป็น ระยะเวลาสั้น ๆ ควรเก็บไว้ในร่ม ที่มีความชื่นต่ำ และฝุ่นน้อย
    • กรณี swing check valve ให้เอาตัวยึดลิ้นข้างในออกก่อน
    • ให้ไขน็อตตามจุดต่าง ๆ ของวาล์วให้แน่น เพราะ สกรู ให้ไขน็อตตามจุดต่าง ๆ ของวาล์วให้แน่น เพราะ สกรู ตามจุดต่าง ๆ มีโอกาศคลายตัวเนื่องจากการจัดเก็บ
  2. การติดตั้ง
    • โปรดทำความสะอาดเศษโลหะจากการตัดเชื่อมท่อก่อนติดตั้ง เพราะ เศษเหล่านั้นจะทำให้ลิ้นหรือซีลเสียได้
    • clean inside before install
    • โปรดติดตั้ง marine valve วาล์ว JIS 5k, 10k ให้ตรงกับทิศทางการไหล ตามลูกศร ที่ระบุ บนตัววาล์ว เช่น Globe valve, Angle valve (ตามภาพ)

How to install correct direction flow valve

    • กรณี ติดตั้งวาล์วประตู ในแนวนอน ให้ติดตั้ง ในแนวตั้งฉากCorrect position of gate valve installed
    • กรณี ติดตั้งวาล์ว ที่เป็นเกลียว ห้ามเอาประแจ จับที่ตัววาล์ว หรือพวงมาลัย
    • กรณี ติดตั้งวาล์วที่เป็นหน้าแปลน ให้ตรวจสอบประเก็น ว่าอยู่ในสภาพปกติ และ การไขน็อต ให้ไขในตำแหน่ง คู่ตรงข้าม
    • How to tighten bolt flange
  1. เมื่อเริ่มใช้งาน
    • แม้ว่า มารีนวาล์วได้ถูกตรวจสอบมาแล้ว ที่โรงงานก่อนการจัดส่ง แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการคลายตัว ก่อนการใช้งานจริง ดังนั้น โปรดตรวจสอบ จุดต่าง ๆ ว่าได้ไขเกลียว ไว้แน่นหนา ดีแล้วหรือไม่
    • How to tighten bonnet
    • โปรดใช้ความระมัดระวัง ในการไขวาล์ว ประเภท Union bonnet ควรไขอย่างช้า ๆ เพื่อไม่ให้ ปะเก็นเสียหาย
    • How to tighten bonnet2
    • ควรไขน็อตวาล์ว ณ.ตำแหน่งเปิดลิ้น การไขน็อตวาล์ว เพื่อยึด bonnet ให้สนิท ขณะปิดลิ้น อาจทำให้ลิ้น เสียหายได้
    • How to tighten bonnet3
    • เมื่อติดตั้งแล้ว ในการเปิดใช้งาน marine valve ครั้งแรก ควรเปิดวาล์วออกช้า ๆ เพื่อให้ภายในถูกชำระล้าง เอาเศษวัสดุที่ค้าง ภายในท่อออกไปจากตัววาล์ว แล้วจึงปิดวาล์วลงมาอีกครั้ง
      • How to use flow valve
    • ในการขนส่งสินค้า ควรปิดลิ้นวาล์วไว้ (ไม่ต้องแน่นมาก) เพื่อป้องการการกระแทก ของลิ้น กรณีตรวจสอบ แรงดันหลังการติดตั้ง ให้หมุนพวงมาลัย เปิดเล็กน้อย แล้วค่อยหมุนปิดวาล์วอีกครั้ง

สนใจสินค้า และ ผลิตภัณฑ์

ไม่ว่าจะเป็น JIS valve 5k, 10k, 16k ฯลฯ โปรดติดต่อฝ่ายขาย
Tel: +66 (2) 874-1027 Ext.111
Mobile: +66 (83) 179-9292
Fax: +66 (2) 874-1030
ship@shipshapegroup.com
Line@ ID : @shipstore

หรือสามารถเลือกชมสินค้าได้ที่ ” หมวดสินค้าวาล์ว “

สำหรับวิธีใช้งาน ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นอกจากจะใช้กับวาล์ว มาตรฐาน JIS standard ได้แล้ว
ยังใช้กับ วาล์วอุตสาหกรรมทั่วไป ได้ด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ANSI standard หรือ DIN standard หรือ GB standard

ข้อควรระวังเกี่ยวกับวาล์วที่ใช้งานแก๊ส LPG

วาล์วแรงดัน 20k ที่จะใช้กับงาน LPG นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นข้างใน เป็นเทปล่อน (ptfe disc)
การเปลี่ยน ปะเก็น จะมีขั้นตอนดังนี้

  • ทำความสะอาดก้านวาล์ว (stem valve) ที่จะต้องเคลื่อนผ่านประเก็น
  • ปล่อย แรงด้น ที่ค้างอยู่ในตัววาล์ว
  • เปิดวาล์ว แยกออกจาก bonnet
  • ทำความสะอาด ภายในและ แกนวาล์ว
  • ติดตั้ง เทปล่อน และ ปะเก็นเข้าไป
  • ประกอบ วาล์วกลับให้แน่น
แนวทางในการติดตั้ง
  • ตอนที่ใส่ปะเก็นเข้าไปที่แกนวาล์ว ต้องทำความสะอาด
  • ใส่อย่าง ระมัดระวัง อย่าให้ปะเก็นเป็นรอย หรือฉีกขาด
  • ตอนไขปิด ให้ค่อยๆ หมุนอย่างระมัดระวัง
  • สำคัญที่สุด ต้องระวังอย่าให้แกนวาล์ว และปะเก็นเป็นรอย เพราะ จะทำให้วาล์ว รั่ว ได้

การทดสอบวาล์ว (ไฮโดรเทส)

  • จะทำสอบโดยการใช้แรงดัน ตามข้อกำหนด โดยใช้ปั้มเทสท่อ อัดน้ำเข้าไป
  • การเทสจะทำ 2 จังหวะ โดยจังหวะแรกจะปิดวาล์ว เพื่อทดสอบดูว่าลิ้น disc รั่วหรือไม่
  • จังหวะที่ 2 เปิดลิ้น เพื่อทดสอบดูว่ามีส่วนไหนของตัววาล์ว (body) รั่วหรือไม่
  • โดยในการทดสอบแต่ละครั้ง จะอัดแรงดันเข้าไป และตรวจเช็ค จนมั่นใจว่าไม่มีน้ำซึม หรือรั่ว
  • หมายเหตุ การทดสอบ จะทำโดยใช้หน้าแปลน ที่ทำขึ้นมาเฉพาะ สำหรับปิดและต้องมีปะเก็นซีลด้วย